เมนู

ภิกขุนีวรรคที่ 3


ภิกขุนีอุปสสยสิกขาบทที่ 3


วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 3 พึงทราบดังนี้.
ในคำเป็นต้นว่า อญฺญตฺรสมยา โอวทติ อาปตฺติ ปาจิตฺตยสฺส
เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้กล่าวสอนด้วยครุธรรม 8
เท่านั้น, กล่าวสอนด้วยธรรมอื่นเป็นทุกกฏ.
สองบทว่า เอกโต อุปสมฺปนฺนาย ได้แก่ ภิกษุณีผู้อุปสมบทใน
ภิกษุณีสงฆ์. แต่เป็นปาจิตตีย์แท้ แก่ภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณีผู้อุปสมบทใน
ภิกษุสงฆ์. อนึ่ง เบื้องหน้าแต่นี้ไปในที่ทุก ๆ แห่งที่ท่านกล่าวคำว่า เอกโต
อุปสมฺปนฺนาย
ไว้ บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความอย่างนี้เหมือนกัน. บทที่เหลือ
ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเหมือนกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา 1
ทางวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัติวัชชระ
กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
ภิกขุนีอุปัสสยสิกขาบทที่ 3 จบ

ข้อเบ็ดเตล็ดในสิกขาบทที่ 3


ก็แล ในสิกขาบทที่ 3 นี้ ท่านกล่าวปกิณกะไว้ในมหาปัจจรี ดัง
ต่อไปนี้ ถ้าว่า ภิกษุผู้มีได้รับสมมติ เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว เข้าไป
สู่สำนักภิกษุณี กล่าวสอนด้วยครุธรรม 8 เป็นปาจิตตีย์ 3 ตัว. เมื่อสอนด้วย
ธรรมอื่น เป็นทุกกฏ 2 ตัว เป็นปาจิตตีย์ 1 ตัว.